Slide

ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ามัดย้อมสีดิน ของชุมชนบ้านหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา

  • ข้อมูลที่ตั้ง  : กลุ่มชุมชนบ้านหน้าถ้ำ  2/2 หมู่ที่ 1 ถนนเพชรเกษม สายยะลา-ท่าเนียง ตำบลหน้าถ้ำ  อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
  • ความเป็นมา  : เริ่มจากชาวบ้านบริเวณชุมชน นำเอาดินที่อยู่ภายในถ้ำภูเขากำปั่น และภูเขาวัดถ้ำ ซึ่งเป็นดินลักษณะเฉพาะที่ชาวบ้านใช้เป็นปุ๋ยในการเพาะปลูกต้นไม้ โดยจะทำให้ต้นไม้นั้นมีความเจริญงอกงามดีมาก แต่ในช่วงระยะหลังๆ การนำเอาดินมายามาทำเป็นปุ๋ยได้ลดน้อยลง ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันคิด และนำเอาดินมายามาทำประโยชน์ให้มากกว่านี้  จึงได้แนวคิดในการนำเอาดินมายามาทำเป็นสีย้อมผ้า เนื่องจากเคยสังเกตพบว่า หากเสื้อเลอะดินมายาแล้วจะล้างออกยาก เลยมีความคิดว่าน่าจะเอามาทำสีย้อมเสื้อขาวได้ เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในการนำเอาดินมายาดังกล่าวไปตรวจสอบ พบว่า สามารถจะนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าได้จริง  “นอกจากนี้ ดินมายามีความพิเศษคือ เป็นดินที่ผสมกับมูล หรือขี้ค้างคาวทับถมกันมาเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปี และมีอยู่ที่เดียวในจังหวัดยะลา คือ ที่บ้านหน้าถ้ำ จ.ยะลา โดยในสมัยก่อนนั้นคนโบราณที่อยู่อาศัยภายในถ้ำได้นำเอาดินดังกล่าวนี้ใช้เขียนภาพประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องราวชีวิตลงบนผนังถ้ำ ซึ่งพบได้ภายในถ้ำศิลป์ จ.ยะลา และสีที่ได้จากดินมายานั้นเป็นสีส้มคล้ายๆ สีอิฐ ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ และมีความคงทน”
  • แหล่งทุน :ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม